ที่ดินแบบไหนซื้อ-ขายไม่ได้? โฉนดมีกี่แบบ? สีโฉนดต่างกันอย่างไร?

รู้ทันเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ก่อนเสียรู้!

post date  โพสต์เมื่อ 21 ม.ค. 2568   view 1049
article

“ที่ดินแบบไหนซื้อ-ขาย ไม่ได้?”

ใครที่กำลังเล็งซื้อ-ขายที่ดินในไทย หยุดอ่านก่อน! ไม่ใช่ที่ดินทุกแปลงจะทำธุรกรรมได้แบบสบายใจนะคะ ถ้าไม่อยากเสียรู้หรือเจอปัญหาภายหลัง มาเช็คกันดีกว่าว่าเอกสารสิทธิ์แบบไหนโอเค และแบบไหนที่ต้องระวังไว้ให้ดี ✨


ที่ดิน ซื้อ-ขาย-จำนอง ได้

  1. โฉนดที่ดิน (น.ส. 4 ตราครุฑสีแดง)

    • เป็นหนังสือที่ออกโดยราชการหรือกรมที่ดิน มีระวางแผนที่ชัดเจน
    • เจ้าของชื่อหลังโฉนดมีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ สามารถซื้อ-ขาย หรือจำนองได้ทันที
    • ข้อควรระวัง:
      อย่าสับสนกับ “โฉนดหลังแดง” ซึ่งมีข้อจำกัดห้ามซื้อ-ขาย หรือโอนจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน
  2. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก. ตราครุฑสีเขียว)

    • เป็นหนังสือที่รับรองการทำประโยชน์ในที่ดินนั้น
    • มีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน สามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินได้ในอนาคต
  3. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 และ น.ส. 3 ข. ตราครุฑดำ)

    • แสดงสิทธิ์ในการครอบครอง แต่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศที่ชัดเจน
    • หากต้องการซื้อ-ขาย ต้องประกาศจากราชการล่วงหน้า 30 วัน

ที่ดิน ซื้อ-ขาย-จำนอง ไม่ได้ (ยกเว้นเป็นมรดก)

  1. ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 (ตราครุฑสีน้ำเงิน)

    • เป็นที่ดินจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
    • ใช้เพื่อการเกษตรเท่านั้น ห้ามซื้อ-ขาย จำนอง หรือขายฝาก ยกเว้นกรณีที่รัฐบาลอนุญาต
  2. ใบจอง (น.ส. 2)

    • หนังสืออนุญาตให้ครอบครองเพื่อทำประโยชน์ชั่วคราว
    • ต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายใน 6 เดือน หลังจากได้รับใบจอง
  3. สิทธิทำกิน (สทก.)

    • หนังสือที่ให้สิทธิทำกินในพื้นที่เขตป่าไม้
    • หากปล่อยให้รกร้างเกิน 2 ปี กรมป่าไม้สามารถยึดคืนได้
  4. หนังสือ ก.บ.ท. 5

    • เป็นเอกสารที่รับรองการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ที่ดินจากกรมที่ดิน
    • ไม่สามารถใช้ซื้อ-ขาย หรือจำนองได้

🔎 สรุป Tips ง่ายๆ ตรวจสอบให้ชัวร์ ก่อนทำธุรกรรม!

  • ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์: เช็คให้ละเอียดว่าเป็นเอกสารประเภทใด
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: หากไม่แน่ใจ ติดต่อที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์หรือทนายความ
  • หลีกเลี่ยงที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ชัดเจน: ลดความเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย

#ที่ดินทุกแปลงไม่ได้มีสิทธิเท่ากัน #ซื้อขายที่ดิน #ที่ดินปลอดภัย #ลงทุนอสังหาฯ #LifeProperty


📲 ปรึกษาฟรีกับ Life Property

ไม่ต้องคิดเยอะ ทัก Line: @lifeproperty ได้เลยวันนี้!
ช่วยตรวจเอกสาร เช็คสิทธิ์ จบครบในที่เดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง (3)